เมื่อไหร่จึงควรรับการตรวจการนอนหลับหรือSleepTest
ข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการตรวจการนอนหลับหรือsleep test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอน กรนดังผิดปกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติทั้งๆที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว,ผู้ที่มีอาการหายใจลำบากและสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำเป็นต้นโดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เพื่อสอบถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจและรักษาแบบต่างๆ อาการนอนกรนเป็นปัญหาที่เราพบได้บ่อยแต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นเรื่องปกติไม่มีผลเสียอะไรในทางตรงกันข้ามอาการนอนกรนเป็นอาการเตือนว่าทางเดินหายใจเริ่มมีการตีบแคบลง จนเมื่อมีการตีบแคบมากขึ้นจนปิดสนิทและอาการกรนจะหายไปเนื่องจากไม่มีอากาศผ่านไปได้กลายเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับออกซิเจนที่มีอยู่ในเลือดซึ่งมีการใช้ตลอดเวลาแม้ในขณะหลับจะลดต่ำลงจนถึงจุดที่ทำให้มีการกระตุ้นให้สมองตื่นตัวเพื่อกลับมาหายใจเอาออกซิเจนกลับเข้าในร่างกายให้เพียงพอการที่สมองถูกกระตุ้นให้มีการตื่นตัวซ้ำๆตลอดทั้งคืนจะทำให้คุณภาพการนอนลดลงเมื่อตื่นนอนมาจึงไม่สดชื่นกลางวันง่วงอ่อนเพลียประสิทธิภาพการทำงานลดลงหงุดหงิดฉุดเฉียวง่ายหากขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรก็จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ปัญหาสุขภาพการนอนจึงไม่ใช่สิ่งที่ควรละเลยยังส่งผล ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆมากมายได้เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน กรดไหลย้อน ความจำลดลง หลอดเลือดสมองตีบ และหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น เป็นต้น
**เริ่มดูแลสุขภาพกันได้แล้วตั้งแต่วันนี้** โดยการเลือกตรวจการนอนหลับ หรือ sleep test
การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test
1.) ข้อมูลเบื้องต้น
การตรวจการนอนหลับ เป็นการตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย ปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากล (Gold Standard) สำหรับการวินิจฉัยโรค ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นต้น
2.) ข้อบ่งชี้ควรรับการตรวจ Sleep Test
ข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว, ผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น โดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง, ศูนย์ตรวจสุขภาพการนอนหลับ หรือแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น หู คอ จมูก, อายุรแพทย์, กุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ หรือแพทย์เฉพาะทาง เพื่อสอบถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจการนอนหลับและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการนอนกรนของแต่ละบุคคล
3.) วิธีการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test
การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test จะเริ่มต้นในช่วงค่ำ (เวลาประมาณ 20.00 น ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละราย) แนะนำให้ผู้ป่วยมาก่อนเวลา 19.00 น. เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะนอน ก่อนเริ่มการตรวจการนอนหลับ เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอน หรืออาจให้กรอกแบบสอบถาม และเอกสารความยินยอมของผู้รับการตรวจ หลังจากนั้นจะอธิบายลักษณะเกี่ยวกับอุปกรณ์ และการปฏิบัติตัวต่างๆ ระหว่างการตรวจ ในกรณีที่ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test ผู้รับการตรวจส่วนมากจะได้รับการทดลองใส่หน้ากากของเครื่องเป่าความดันลมบวก (CPAP mask) ในกรณีที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับระดับรุนแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะให้การรักษาอาการนอนกรนโดยใช้เครื่องดังกล่าวภายในคืนที่ตรวจเลย เมื่อผู้รับการตรวจการนอนหลับพร้อมที่จะเข้านอน หลังจากชำระร่างกายสะอาดแล้ว เจ้าหน้าที่จะเริ่มทำการติด สายวัด คลื่นไฟฟ้า สมอง รวมถึงกล้ามเนื้อลูกตา กล้ามเนื้อใต้คาง และขา รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ดังนั้น ผู้รับการตรวจจะมีอุปกรณ์ต่างๆ และสายติดที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า คาง หน้าอกและขาทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ยังมีการตรวจระบบหายใจโดยมีสายวัดบริเวณจมูก สายรัดหน้าอกและบริเวณท้อง รวมถึงจะมีเครื่องวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว และอาจมีเครื่องวัดระดับเสียงกรน หรือการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น การบันทึกภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ตามความจำเป็น สำหรับการตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาล จะมีเจ้าหน้าที่จะอยู่ในห้องควบคุมภายนอกห้องนอนของผู้รับการตรวจ ซึ่งจะดูแลระหว่างการตรวจ โดยในวันที่ตรวจผู้รับการตรวจควรสวมเสื้อผ้า เหมือนชุดที่ใส่นอนเป็นประจำ โดยทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องวิตกกังวลเนื่องจากจะไม่เกิดความเจ็บปวดใด ๆ ในระหว่างการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test นอกจากความไม่ คุ้นเคย กับเครื่องมือที่ติดตามร่างกายส่วนต่างๆ เท่านั้น.
4.) ควรปฏิบัติตัวก่อนมาตรวจดังนี้
** กรุณาอ่านเอกสาร “ คําแนะนําในการตรวจการนอนหลับ ” ล่วงหน้า ก่อนถึงวันตรวจ
ขั้นตอนวันมาตรวจ
ควรมาถึงโรงพยาบาลเวลาประมาณ 19.00 น. ที่แผนกอายุรกรรมเฉพาะทาง
ตรวจสมรรถภาพการนอนหลับ เวลาประมาณ 20.00 - 06.00 น.
การรับผลตรวจการนอนหลับ
นัดฟังผลหลังตรวจการนอนหลับประมาณ 7-10 วัน
**สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 077-956789 หรือ 1719 ต่อ โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ ต่อแผนก หู คอ จมูก
1.แบบประเมินความง่วง
Link: https://crmapp.bdms.co.th/crmapps/questionnaire/518f2524
2.แบบทดสอบความเสี่ยงของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA)
Link: https://crmapp.bdms.co.th/crmapps/questionnaire/464f9c57