เมื่อไหร่จึงควรรับการตรวจการนอนหลับหรือ SleepTest ข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการตรวจการนอนหลับหรือsleep test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิด ปกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติทั้งๆที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว,ผู้ที่มีอาการหายใจลำบากและสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำเป็นต้น โดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เพื่อสอบถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจและ รักษาแบบต่าง ๆ อาการนอนกรนเป็นปัญหาที่เราพบได้บ่อยแต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นเรื่องปกติไม่มีผลเสียอะไรในทางตรงกันข้ามอาการนอนกรน เป็นอาการเตือนว่าทางเดินหายใจเริ่มมีการตีบแคบลง จนเมื่อมีการตีบแคบมากขึ้นจนปิดสนิทและอาการกรนจะหายไป เนื่องจากไม่มีอากาศผ่านไปได้ กลายเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับออกซิเจนที่มีอยู่ในเลือดซึ่งมีการใช้ตลอดเวลาแม้ในขณะหลับจะลดต่ำลงจนถึงจุดที่ทำให้มีการกระตุ้นให้สมอง ตื่นตัวเพื่อกลับมาหายใจเอาออกซิเจนกลับเข้าในร่างกายให้เพียงพอการที่สมองถูกกระตุ้นให้มีการตื่นตัวซ้ำๆตลอดทั้งคืนจะทำให้คุณภาพการนอนลดลงเมื่อตื่นนอนมาจึงไม่สดชื่นกลางวันง่วงอ่อนเพลียประสิทธิภาพการทำงานลดลงหงุดหงิดฉุดเฉียวง่ายหากขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรก็จะเกิด อุบัติเหตุได้ง่าย

ปัญหาสุขภาพการนอนจึงไม่ใช่สิ่งที่ควรละเลยยังส่งผล ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆมากมายได้เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน กรดไหลย้อน ความจำ ลดลง หลอดเลือดสมองตีบ และหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น เป็นต้น เริ่มดูแลสุขภาพกันได้แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยการเลือกตรวจ การนอนหลับ หรือ sleep test

บริการด้านคุณภาพการนอนหลับ

  • การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test
    • ข้อมูลเบื้องต้น การตรวจการนอนหลับ เป็นการตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่าง ที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย ปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากล (Gold Standard) สำหรับการวินิจฉัยโรค ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นต้น
    • ข้อบ่งชี้ควรรับการตรวจ Sleep Test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่าง เพียงพอแล้ว, ผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนแขนขา กระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น โดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับ โดยตรง, ศูนย์ตรวจสุขภาพการนอนหลับ หรือแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น หู คอ จมูก, อายุรแพทย์, กุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ หรือแพทย์ เฉพาะทาง เพื่อสอบถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจการนอนหลับ และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการนอนกรนของแต่ละบุคคล
  • วิธีการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test จะเริ่มต้นในช่วงค่ำ (เวลาประมาณ 20.00 น ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละราย) แนะนำให้ ผู้ป่วยมาก่อนเวลา 19.00 น. เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะนอน ก่อนเริ่มการตรวจการนอนหลับ เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอน หรืออาจ ให้กรอกแบบสอบถาม และเอกสารความยินยอมของผู้รับการตรวจ หลังจากนั้นจะอธิบายลักษณะเกี่ยวกับอุปกรณ์ และการปฏิบัติตัวต่างๆ ระหว่างการตรวจ ในกรณีที่ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test ผู้รับการตรวจส่วนมากจะได้รับการทดลองใส่หน้ากากของเครื่องเป่าความดัน ลมบวก (CPAP mask) ในกรณีที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับระดับรุนแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะให้การรักษาอาการนอนกรนโดยใช้เครื่องดังกล่าว ภายในคืนที่ตรวจเลย เมื่อผู้รับการตรวจการนอนหลับพร้อมที่จะเข้านอน หลังจากชำระร่างกายสะอาดแล้ว เจ้าหน้าที่จะเริ่มทำการติด สายวัด คลื่นไฟฟ้า สมอง รวมถึงกล้ามเนื้อลูกตา กล้ามเนื้อใต้คาง และขา รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ดังนั้น ผู้รับการตรวจจะมีอุปกรณ์ต่างๆ และสายติดที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า คาง หน้าอกและขาทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ยังมีการตรวจระบบหายใจโดยมีสายวัดบริเวณจมูก สายรัดหน้าอก และบริเวณท้อง รวมถึงจะมีเครื่องวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว และอาจมีเครื่องวัดระดับเสียงกรน หรือการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น การบันทึก ภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ตามความจำเป็น สำหรับการตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาล จะมีเจ้าหน้าที่จะอยู่ในห้องควบคุมภายนอก ห้องนอนของผู้รับการตรวจ ซึ่งจะดูแลระหว่างการตรวจ โดยในวันที่ตรวจผู้รับการตรวจควรสวมเสื้อผ้า เหมือนชุดที่ใส่นอนเป็นประจำ โดยทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องวิตกกังวลเนื่องจากจะไม่เกิดความเจ็บปวดใด ๆ ในระหว่างการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test นอกจาก ความ ไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือที่ติดตามร่างกายส่วนต่าง ๆ เท่านั้น.
  • ควรปฏิบัติตัวก่อนมาตรวจดังนี้
    • กรุณาเตรียมเสื้อผ้าสําหรับเปลี่ยนกลับบ้านมาด้วย ไม่อนุญาตให้ญาติเฝ้า ยกเว้น ผู้รับบริการเป็นผู้หญิง และผู้ที่เฝ้าจะต้องไม่รบกวน การนอนของผู้ป่วย เช่น ไม่กรน ไม่ส่งเสียงดัง
    • ผู้มารับการตรวจสามารถนําผ้าหรืออุปกรณ์ที่ เคยชินหรือจําเป็นต้องใช้ประจําในขณะหลับและก่อนหลับที่ช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้ดี ในวันมาตรวจได้ เช่น หนังสือสําหรับอ่านก่อนนอน หมอนใบเล็กสําหรับกอด ผ้าห่มที่ใช้ประจํา ผ้าสําหรับปิดตา เป็นต้น
    • หากผู้มารับการตรวจมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจํา เช่น ยาควบคุมความดัน ยารักษาโรคอื่นๆที่รับประทานอยู่ ให้รับประทานได้ตามเดิม และกรุณานํายาของท่านพร้อมขวดหรือซองยาที่มีสลากชื่อยามาด้วยในวันที่ตรวจการนอนหลับ (ทางโรงพยาบาลต้องการทราบว่าท่าน ทานยาประเภทใดบ้าง)
    • รับประทานอาหารเย็นได้ตามปกติก่อนมาตรวจ แนะนำไม่ควรรับประทานจนอิ่ม แน่นมากเกินไป จะทำเวลานอนรู้สึกไม่สุขสบาย และทำให้ เกิดกรดไหลย้อนได้
    • ห้ามดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมารับการตรวจหรือก่อนนอน เพราะจะทําให้คุณภาพของการนอนหลับผิดปกติไป ยกเว้นในรายที่ดื่มเป็นประจําและต้องให้แพทย์ที่ทําการรักษาทราบก่อนทําการตรวจ
    • ห้ามรับประทานยาถ่ายหรือยาระบายก่อนมาตรวจ เพราะจะทําให้การนอนตรวจไม่ต่อเนื่อง
    • ห้ามรับประทานยานอนหลับ เพราะจะทําให้การหลับไม่เป็นไปตามปกติที่ควรเป็น ยกเว้นในรายที่แพทย์อนุญาต หรือจัดยาให้รับประทาน ก่อนทําการตรวจ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วย
    • ห้ามทาเล็บมือ (ในคุณผู้หญิง) ควรตัดเล็บมือให้สั้น โกนหนวดและเครา ก่อนเข้าห้องตรวจ จะทำให้ติดเครื่องมือ/อุปกรณ์ได้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น
    • วันที่มารับการตรวจควรสระผมให้สะอาด ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆที่ศีรษะ บริเวณใบหน้าและลําตัว เพราะการติดอุปกรณ์ที่หนังศีรษะ จําเป็นต้องให้บริเวณที่ติดอุปกรณ์ไม่มีไขมัน เพื่อให้สัญญาณชัดและสามารถอ่านระดับการนอนหลับได้ถูกต้อง ท่านจะอาบน้ำสระผมจาก ที่บ้าน หรือมาอาบน้ำที่ห้องตรวจก่อนนอนก็ได้
    • หลังอาบน้ำแล้ว ห้ามทาแป้งหรือครีม บริเวณใบหน้า คอ และขา เพื่อให้อุปกรณ์ที่ติดอยู่ติดตลอดทั้งคืน
    • หากท่านไม่สบาย เช่น เป็นไข้หวัด ไอ จาม มีน้ำมูก หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน
  • กรุณาอ่านเอกสาร “ คําแนะนําในการตรวจการนอนหลับ ” ล่วงหน้า ก่อนถึงวันตรวจ
  • ควรมาถึงโรงพยาบาลเวลาประมาณ 19.00 น. ที่แผนกอายุรกรรมเฉพาะทาง
  • ตรวจสมรรถภาพการนอนหลับ เวลาประมาณ 20.00 – 06.00 น.
  • การรับผลตรวจการนอนหลับ นัดฟังผลหลังตรวจการนอนหลับประมาณ 7-10 วัน

**สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 077-956-789 หรือ 1719 ต่อ โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ ต่อแผนก หู คอ จมูก

  • แบบประเมินความง่วงLink: https://crmapp.bdms.co.th/crmapps/questionnaire/278bf7fb
  • แบบทดสอบความเสี่ยงของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA)Link: https://crmapp.bdms.co.th/crmapps/questionnaire/c033dafc